Support
ร้านบารากุไฟฟ้า
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

บุหรี่ ตัวการสำคัญของการเกิด COPD (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง)

muangthailifetime1@gmail.com | 07-11-2556 | เปิดดู 1456 | ความคิดเห็น 0

 บุหรี่ ตัวการสำคัญของการเกิด COPD (โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง) (อ่าน 3936/ตอบ 0)

คนไทยเรารู้จักสิ่งเสพติดมานักต่อนัก และก็ทราบว่ายาเสพติดก่อให้เกิดปัญหาทั้งในระดับประเทศและส่วนตัว คือก่อให้เกิดปัญหาอาชญากร เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ การสาธารณสุข โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบเห็นสารเสพติดบางชนิดในชีวิตประจำวัน ซึ่งพบเห็นได้ตามท้องถนน และแม้กระทั่งในสวนสาธารณะ ซึ่งก็คือ "บุหรี่" ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งเสพติดที่สิงห์อมควันทั้งหลายยังคงสูบอยู่อย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี 
       โทษหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็ง โรคเส้นเลือด ไขมันอุดตัน ฯลฯ แต่ก็ยังมีผู้สูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิง ที่จากการสำรวจย้อนหลัง 10 ปี จะพบได้มากขึ้นในแทบทุกประเทศ จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ปัญหาการเกิดโรคข้างต้นในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาด แม้กระทั่งการผ่าตัดก็ยังไม่ช่วยให้หายได้ วิธีการที่ดีที่สุดก็คือ การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ 
       เมื่อพูดถึง โรค COPD ในทางการแพทย์ ซึ่งทราบกันดีว่าคือ โรคถุงลมโป่งพอง หรือ โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากการได้รับสารบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในปอดอย่างเรื้อรัง ทำให้ปอดเกิดความเสียหายจนทำให้มีการทำลายเนื้อปอดเกิดขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดโรค COPD นั้นก็คือ "บุหรี่" นั่นเอง 

       รศ. นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ หน่วยโรคระบบทางเดินหายใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับโรค COPD ในงานประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 24 ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ถึงอันตราย ปัจจัยเสี่ยง และความหวังในการรักษาดังนี้ 

สาเหตุสำคัญของการเกิดโรค COPD 
       โรค COPD หรือโรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคที่เกิดจากการได้รับสารบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในปอดอย่างเรื้อรัง ทำให้ปอดเกิดความเสียหายจนทำให้มีการทำลายเนื้อปอดเกิดขึ้น ซึ่งสิ่งที่ไปกระตุ้นและทำให้ปอดเกิดการทำลายมากที่สุด ก็คือ บุหรี่ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดกว่า 70-80% มาจากบุหรี่ และการสูบบุหรี่ ต่อเนื่องติดต่อกันอย่างน้อย 10-20 ปี จะทำให้เป็นโรคนี้ได้มากถึง 90% 
       โรคถุงลมโป่งพองจะพบได้ในคนที่สูบบุหรี่ ควันบุหรี่ หรือสารพิษในบุหรี่จะเข้าไปทำลายปอด ทำลายหลอดลมและเนื้อปอด อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีคนไข้หลายคนที่ถึงแม้ไม่ได้สูบบุหรี่แต่ก็ได้รับความเสี่ยงจากสารพิษอื่น เช่น ควันบุหรี่มือสอง ควันจากการหุงหาอาหาร และโรคนี้ก็ยังพบได้ในกลุ่มผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ด้วย นอกจากควันบุหรี่แล้ว ควันจากการทำอาหารก็สามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้ 
       ควันจากการทำอาหาร ควันจากสิ่งแวดล้อม ก็อาจจะทำให้เกิดโรคนี้ได้ สถิติข้อมูลการพบอุบัติการณ์ของโรค COPD ในผู้ชายและผู้หญิงจะมีความเสี่ยงเท่ากัน แต่ในประเทศไทยจะพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ซึ่งตรงกันข้ามกับในต่างประเทศที่พบได้ใน ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วจะมีคำแนะนำในการสูบบุหรี่อย่างไร 
       หลักการสำคัญคือต้องไม่สูบบุหรี่ จะไม่มีข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสูบบุหรี่ บุหรี่อย่างที่ทราบกันว่าห้ามสูบอยู่แล้ว บุหรี่ที่ไม่มีพิษคือบุหรี่ที่ไม่ได้จุด เพราะฉะนั้นการสูบบุหรี่น้อย สูบบุหรี่ก้นกรอง บุหรี่ไมลด์ บุหรี่ไลท์ ก็ล้วนแล้วแต่มีผลเสียทั้งนั้น 

การแสดงอาการระยะแรกเริ่มเป็นอย่างไร 
       ระยะอาการในช่วงแรกจะมีไม่มากนัก เพราะปอดคนเราจะมีปริมาตรสำรองอยู่เยอะ เมื่อปอดเริ่มเสื่อมไป บางครั้งคนไข้จะไม่มีอาการ และคนไข้ส่วนหนึ่งจะปรับสภาพการดำเนินชีวิตให้เข้ากับอาการของโรค คือเมื่อเริ่มรู้สึกเหนื่อย ก็จะพยายามลดการทำกิจกรรมลง ทำให้คนไข้ส่วนหนึ่งไม่ทราบการดำเนินของโรค และมาพบแพทย์เมื่อเป็นมากแล้ว 

แล้วมีสัญญาณบ่งบอกอาการอย่างไร 
       คนไข้ที่เป็นโรค COPD อาการที่พบได้บ่อยก็คือ ไอเรื้อรัง มีอาการเหนื่อยมาก เดินขึ้นลงบันไดหรือวิ่งได้ไม่นาน มีเสมหะมากขึ้น และทำงานได้น้อยลง ซึ่งอาการทั้งหมดเป็นสัญญาณเตือนว่าปอดได้เสื่อมสภาพลงในระดับหนึ่งแล้ว และถ้าเป็นมากถึงจุดหนึ่งก็จะมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก จนเมื่อมีอาการหอบเฉียบพลันก็อาจจะต้องรีบมาโรงพยาบาล 

ระยะอาการและความรุนแรง 
       ระยะอาการสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระยะคือ ระยะแรก ระยะปานกลาง ระยะรุนแรง และระยะรุนแรงมาก อาการจะวัดได้จากความจุของปอด ความรุนแรงของโรค ซึ่งก็มีการแบ่งตามปริมาตรปอดว่า ลดลงกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งต้องมีการวัดความจุของปอดก่อนว่าลดลงจากเดิมกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้าน้อยกว่า 50% แปลว่ามีความรุนแรงมาก โดยปรกติการวัดปริมาตรควรเกิน 80% หรืออาจสังเกตจากอาการก็ได้ เช่น ขึ้นบันไดไม่ไหว เดินได้สั้นลง ก็เป็นอาการบ่งชี้ได้ว่าโรคมีระยะรุนแรงมากขึ้นแล้ว 

อาการระยะใดที่เกิดขึ้นในคนไทยส่วนมาก 
       คนไทยส่วนมากที่มาพบแพทย์จะมาเมื่อเป็นมากแล้ว ส่วนหนึ่งจะเป็นระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ซึ่งคนไข้จะไม่ตระหนักว่ามีโรคนี้อยู่ บางครั้งในสถานพยาบาลก็ไม่ได้ทำการตรวจสภาพปอดและวินิจฉัยอย่างล่าช้า แพทย์เองก็ไม่ได้สั่งตรวจเพิ่มเติมอะไร เนื่องจากโรคนี้มีอุบัติการณ์จากการสูบบุหรี่มานาน จึงมักจะพบเจอได้ในวัยกลางคน แต่แน่นอนว่าการเลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่ยังเด็กทำให้โอกาสเป็นโรคนี้ลดลง ส่วนปัญหาแทรกซ้อนก็เชื่อว่าโรคนี้ไม่ได้มีผลต่อปอดอย่างเดียว แต่มีผลต่ออวัยวะอื่นด้วย เช่น หัวใจ 

อัตราการพบเจอโรค COPD ในผู้ที่สูบบุหรี่ในประเทศไทยเป็นอย่างไร 
       ปัญหาคือการวินิจฉัยทำได้ยาก อัตราที่เกิดโรคจึงไม่ทราบแน่ชัด แต่จากข้อมูลที่มีเรื่องการสูบบุหรี่ คนไทยสูบบุหรี่มากถึง 11 ล้านคน สูบต่อเนื่อง 9 ล้านคน กว่าครึ่งจะเป็นโรคถุงลมโป่งพอง แสดงให้เห็นว่า 10-15% ของประชากรไทยจะเป็นโรคนี้ และปัจจัยสำคัญที่สุดของการเกิดโรคก็มาจากการสูบบุหรี่ 

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสารนิโคตินที่ทำให้เกิดโรคทางระบบหายใจ 
       สารนิโคตินในบุหรี่ไม่ได้เป็นสารที่ทำให้เกิดโรค แต่สารอื่นในบุหรี่ที่มีอยู่กว่า 6,000 ชนิด เช่น ควัน น้ำมันดิน จะทำให้เกิดโรค ส่วนสารนิโคตินเป็นตัวการทำให้เกิดการเสพติด 

การเคี้ยวหมากฝรั่งแทนการสูบบุหรี่เป็นวิธีการที่ดีหรือไม่ มีวิธีการรักษาการเลิกบุหรี่หรือไม่ 
       มีวิธีการรักษาหลายวิธี แต่ที่สำคัญคือคนไข้จะต้องมีความอยาก ในการเลิกก่อน ซึ่งการรักษาจะต้องปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการรักษาต่าง ๆ ว่าควรรักษาด้วยวิธีการใด ก็คิดว่าการได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ จะเป็นสิ่งสำคัญ เพราะสามารถวินิจฉัยได้ง่ายกว่า 

อัตราการเสียชีวิตกับอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น 
       อัตราการเสียชีวิตขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ขึ้นอยู่กับระยะของการเกิดโรค ถ้าคนไข้เป็นโรคถุงลมโป่งพองแล้วพอมารักษาที่โรงพยาบาลก็พบว่า 1 ปีให้หลัง กว่า 50% จะเสียชีวิต แต่ก็คิดว่าการตายก็ไม่สำคัญเท่ากับการอยู่อย่างทรมาน อาจอยู่โดยทำกิจกรรมอะไรไม่ได้เลย ต้องให้คนช่วย 
       ส่วนโรคมะเร็งปอดยังมีจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่าโรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งในปัจจุบันโรคถุงลมโป่งพองมีอุบัติการณ์อยู่ที่อันดับ 5 และคาดว่า ในอนาคตจะอยู่ในอันดับ 2 ของสาเหตุการเสียชีวิต และพบว่าจะมี คนสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นทุกปี โรคต่าง ๆ ที่มาพร้อมกับการสูบบุหรี่ก็จะเพิ่มขึ้นทุกปีเช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการดูแลอย่างครบวงจร ดูแลอย่างถูกต้อง จะทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น 
       สถิติการพบโรค COPD จะมากขึ้นหรือน้อยลงขึ้นอยู่กับปัจจัย ความเสี่ยงหลายอย่าง แต่สำหรับ "บุหร" แล้วต้องถือว่าเป็นตัวการ สำคัญที่สุดของการเกิดโรคถุงลมโป่งพอง หรือโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ที่นับวันจะยิ่งมีจำนวนการสูบมากขึ้นในหมู่วัยรุ่น ซึ่งไม่ตระหนักถึงอันตรายที่มากับโรคร้ายในอนาคต และแม้ว่าจะมีการรณรงค์การงดสูบบุหรี่ทั้งในที่สาธารณะ หรือไม่ใช่ที่สาธารณะก็ตาม ปัญหาที่เกิดจากการสูบบุหรี่ก็ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ สถิติการเสียชีวิตด้วยโรคถุงลมโป่งพองก็เพิ่มจำนวนขึ้น ฉะนั้นแล้วจะมีมาตรการอันใดที่จะช่วยหยุดยั้งการบริโภคบุหรี่ของมนุษย์ อันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรค COPD ได้อีกบ้าง 

ที่มา :  http://www.medicthai.com/news/news_detail.php?id=2611

ความคิดเห็น

วันที่: 12-12-2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 0 Pages: 1/0

ถ้าคุณเบื่อกับการดูดบารากุแบบเดิมๆ บารากุไฟฟ้าเป็นทางเลือกใหม่ !!
สามารถพกพาได้ทุกที่ กำลังเป็นที่นิยมในหมู่วัยรุ่น เซเลบ ไฮโซ ดารา ในต่างประเทศ

•• ไม่มีนิโคติน
•• ไม่มีสารทาร์
•• ไม่ต้องชาร์ตแบต
•• ดูดง่าย สบายคอ
•• ดีไซน์หรู ฮิตติดเทรนด์ !!!
•• นำเข้าจากอังกฤษ ของแท้ 100%
•• ควันเยอะ / กลิ่นหอม เหมือนดูดเตาบารากุ
•• สูบได้ 300 ครั้งหัวเป็น Diamond มีไฟเวลาสูบ