บุหรี่มีสารประกอบต่างๆอยู่ประมาณ 4000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารบางชนิดเป็นอันตรายที่สำคัญได้แก่
1. นิโคติน เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธื์โดยตรงต่อสมองทั้งเป็นตัวกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง ถ้าได้รับสารนี้ขนาดน้อยๆ เช่นการสูบบุหรี่ 1-2 ม้วนแรก อาจกระตุ้นทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าสูบมากหลายม้วนก็จะไปกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ความรู้สึกต่างๆช้าลงร้อยละ 95 ของนิโคติน จะไปจับอยู่ที่ปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน (Epinephrine) ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มระดับไขมันในเส้นเลือด บุหรี่ 1 ม้วนจะมีนิโคติน 0.8-1.8 มิลลิกรัม (ค่ามาตรฐานสากลกำหนดไว้ 1 มิลลิกรัม) และสำหรับบุหรี่ก้นกรองนั้นก็ไม่ได้ช่วยให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้
2. ทาร์ สารคล้ายน้ำมันดิน ประกอบด้วยสารหลายชนิด เกาะรวมกันเป็นสารสีน้ำตาล เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่น มะเร็งปอด กล่องเสียงหลอดลม หลอดอาหาร ไตกระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ซึ่งร้อยละ 50 ของทาร์จะไปจับที่ปอด ทำให้เกิดการระคายเคืองอันเป็นสาเหตุของการไอเรื้อรัง ในคนที่สูบบุหรี่วันละซอง ปอดจะได้รับน้ำมันทาร์เข้าไปประมาณ 30 มิลลิกรัม/มวน หรือ 110 กรัม/ปี บุหรี่ไทยมีสารทาร์อยู่ระหว่าง 12-24 มิลลิกรัม/มวน
3. คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ทำลายคุณสมบัติในการนำพาออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้เท่ากับระยะเวลาปกติทำให้เซลร่างกายเกิดอาการขาดออกซิเจน จะรู้สึกมึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งสาเหตุสำคัญให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นจนเป็นโรคหัวใจได้
4. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้น ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงตื่นนอนตอนเช้าจะมีมากขึ้น
7. สารกัมตภาพรังสี ในควันบุหรี่มีสารโพโลเนี่ยม 210 ที่มีรังสีอัลฟ่าอยู่เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปอด และควันบุหรี่ยังเป็นพาหะที่ร้ายแรงในการนำสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างที่ไม่ได้สูบบุหรี่หายใจเอาอากาศที่มีสารพิษเหล่านี่เข้าไปด้วย
6. แอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตาแสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอ และมีเสมหะมาก
5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุส่วนปลายและถุงลมทำให้ผนังถุงลมบางและโป่งพอง ถุงลมเล็กในปอดแตกกลายเป็นถุงขนาดใหญ่ ทำให้ลดพื้นที่ผิวที่จะใช้จับและแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ทำให้การยืดหยุ่นในการหายใจเข้าออกลดลง จนเกิดอาการโรคถุงลมโป่งพองในที่สุด
วันที่: 12-12-2024
|
|
|