การให้นิโคตินทดแทน (Nicotine Replacement Therapy, NRT)
ยาชนิดแรกที่เป็นที่ยอมรับกันว่าใช้ช่วยให้ผู้สูบบุหรี่หยุดสูบได้ผลคือการให้นิโคตินทดแทน นิโคตินที่เราให้ทดแทนจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดอาการขาดนิโคติน ในต่างประเทศมี NRT อยู่ 5 แบบคือ nicotine gum, transdermal nicotine patch, nicotine nasal spray, nicotine inhaler, และ nicotine sublingual tablets แต่สำหรับในประเทศไทยมี NRT ใช้กันเพียง 2 แบบคือ nicotine gum (Nicorette) และ nicotine patch (Nicotinell-TTS) การใช้ NRT จะช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ หยุดสูบได้สำเร็จเพิ่มขึ้น 1.5-2 เท่า แต่การใช้ NRT ให้ได้ผลดีต้องใช้ให้ถูกวิธีนั่นคือ - ถ้าจะใช้ nicotine gum ก็ต้องเคี้ยว 3-4 ครั้งพอให้มีรสเฝื่อนๆของ nicotine ออกมาแล้วอมหมากฝรั่งไว้ติดกระพุ้งแก้มเมื่อรสเฝื่อนเริ่มจางค่อยเคี้ยวใหม่ หมากฝรั่งชิ้นหนึ่งๆ จะใช้ได้นานประมาณ 1 ชั่วโมง การเคี้ยวแบบเดียวกับหมากฝรั่งทั่วๆ ไปจะทำให้นิโคตินถูกปล่อยออกมามาก เกินไปทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่นมึนศีรษะ สะอึก คลื่นไส้ อาเจียน nicotine จะถูกดูดซึมทางเยื่อบุข้างแก้ม nicotine ในน้ำลายที่ถูกกลืนลงไปจะไม่ถูกดูดซึมและจะทำให้แสบคอและแสบท้อง nicotine gum ในประเทศไทยมี 2 ขนาดคือ 2 และ 4 มิลลิกรัม - ถ้าจะใช้ nicotine patch ให้ติดแผ่นยาไว้บนผิวหนังส่วนที่เรียบๆไม่เป็นรอยพับที่ใดก็ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยทั่วไปมักแนะนำให้ติดแผ่นยาตอนเย็นหลังอาบน้ำ เมื่อจะอาบน้ำตอนเช้าวันรุ่งขึ้น ไม่ต้องแกะ ออกเพราะแผ่นยานี้กันน้ำได้ แต่ควรระวังอย่าถูหรือฉีดน้ำแรงๆบริเวณแผ่นยาเท่านั้น หลังจากนั้นให้ติดแผ่นยา ไว้ทั้งวันและแกะออกก่อนอาบน้ำตอนเย็น เมื่ออาบน้ำเสร็จให้ติดแผ่นใหม่โดยเปลี่ยนตำแหน่งที่จะติด เพื่อลดการระคายเคือง nicotine patch ที่มีใช้ในประเทศไทยมี 3 ขนาดคือ 17.5, 35, และ 52.5 มิลลิกรัม ในรายที่สูบบุหรี่ไม่เกินวันละ 20 มวนให้เริ่มด้วยขนาดกลาง ถ้าสูบบุหรี่จัดมากคือวันละ 30 มวนขึ้นไปให้ใช้ขนาดใหญ่ ส่วนขนาดเล็กใช้สำหรับค่อยๆลดก่อนจะหยุดยา จากประสบการณ์ในคลินิกอดบุหรี่รพ.รามาธิบดีพบว่าทั้ง nicotine gum และ nicotine patch ใช้ได้ผลดีใกล้เคียงกันแต่ทั้งคู่มีข้อดีข้อเสียต่างกันเล็กน้อยคือ เราไม่สามารถเคี้ยว nicotine gum ขณะหลับ ได้ทำให้อาจเกิดอาการขาดนิโคตินในช่วงตื่นนอนได้ ในขณะที่ nicotine patch ไม่เกิดปัญหานี้แต่อาจ ทำให้นอนหลับไม่สนิทในบางรายได้ นอกจากนี้ความอยากสูบบุหรี่จะเกิดขึ้นมากไม่เท่ากัน ในแต่ละช่วงเวลา ผู้ที่ใช้ nicotine gum อาจไม่ใช้ยาเลยในบางช่วงเวลาได้ ที่มา : ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องของแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี http://www.ramacme.org/program-exam/3-21-207-2204-0207-01/3-21-207-2204-0207-01-0006.asp
ความสําเร็จในการหยุดสูบบุหรี่จากการรักษาในลักษณะต่างๆ วิธีเลิกสูบบุหรี่ % โอกาสสําเร็จ Self quitting 1-2% Brief GP advice 5% Brief GP advice + NRT* 10% Smoking cessation clinic 10-15% Smoking cessation clinic + NRT 20-30% * Sutherland G. Integrating Intensive Smoking Cessation Treatment into the NHS. Second European Conference. The Society for Research on Nicotine and Tobacco. London;
|
วันที่: Thu Dec 26 21:25:13 ICT 2024
|
|
|